เรื่องของมด

คนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับมด เนื่องจากมดสามารถพบอาศัยได้ทุกแห่งทุกหน แต่มีคนไม่มากนักที่รู้เกี่ยวกับความเป็นอยู่ของมด ส่วนใหญ่รู้จักมดในฐานะเป็นศัตรูหรือสิ่งที่น่ารำคาญที่ไม่มีคุณค่าอะไร เป็นความจริงว่า มดบางชนิดเป็นศัตรู (pest) ตัวอย่างเช่น มดที่อยู่ในบ้านหรือพวกที่กัดเมล็ดพืช และบางชนิดจะป้องกันแมลงพวกดูดกินน้ำเลี้ยง มดบางชนิดกัดและต่อย ทำให้เป็นการยากที่จะหันมาสนใจมดเนื่องจากมดมีขนาดเล็กและดูผิวเผินคล้ายกันมาก ไม่เหมือนกับพวกผีเสื้อ น่าสนใจและสวยงามมากกว่า อย่างไรก็ตาม มดมีการจัดระบบภายในสังคมและพฤติกรรมเหมือนๆ กัน มดทั้งหมดจัดอยู่ในวงศ์ Formicidae เพียงวงศ์เดียวเท่านั้น อยู่ในอันดับ Hymenoptera เช่นเดียวกับพวกผึ้ง ต่อ แตน ลำตัวมดมีสีแตกต่างกัน ได้แก่ สีแดง สีดำ และสีน้ำตาล มีขนาดแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิด ระหว่าง 1-20 มม. ลักษณะของมดที่แตกต่างจากแมลงอันดับอื่นๆ คือ ปล้องท้อง ปล้องที่ 1 เชื่อมติดกับอกปล้องที่ 3 ซึ่งจะเรียกว่า propodeum บางชนิดบริเวณนี้จะมีหนาม 1 คู่ มดมีเอวที่เกิดจากปล้องท้องปล้องที่ 2 เพียงปล้องเดียวหรือจากปล้องท้องที่ 2 และปล้องท้องที่ 3 อาจเป็นก้านหรือเป็นปุ่ม ขึ้นอยู่กับชนิดของมด เป็นลักษณะที่ไม่พบในพวกต่อสน (sawfiles) ส่วนลักษณะอื่นๆ ที่ใกล้ชิดกับพวกผึ้ง ต่อ แตน คือ อวัยวะวางไข่ซึ่งลดหน้าที่ลงไป ปกติจะใช้ในการวางไข่ แต่ในแมลงกลุ่มนี้จะดัดแปลงเป็นเหล็กใน (sting organ) ใช้ในการป้องกันตัว ถึงแม้ว่าปลวกซึ่งเรียกว่า white ant หรือมดขาวเป็นแมลงสังคมเช่นกัน แต่ก็แตกต่างจากมดทั้งทางด้านลักษณะสัณฐานและพันธุกรรม ปลวกจัดอยู่ในอันดับ Isoptera มีความใกล้ชิดกับพวกแมลงสาบ ส่วนมดนั้นใกล้ชิดกับต่อ แตน

สังคมของมด

มดเป็นแมลงสังคมที่แท้จริง (Eusocial insect) อาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม (colony) ในแต่ละชนิด มีหลายรุ่นใน 1 กลุ่ม ภายใน กลุ่มแบ่งออกเป็นวรรณะต่างๆ ดังนี้ ราชินี (queen) มี 1 หรือมากกว่า 1 ตัว เป็นเพศเมียที่ที่สืบพันธุ์ได้ มดเพศผู้ (male)วรรณะต่างๆของมด
1 = ราชินี, 2 = มดเพศผู้, 3 = วรรณะทหาร (major worker), 4 = วรรณะกรรมกร (minor worker) (ที่มา : Chung, 1995)

ภายในมดกลุ่มๆหนึ่งจะมีราชินี ที่ทำหน้าที่วางไข่และมดงานที่เป็นตัวเต็มวัยจำนวนมากซึ่งรวมถึง ไข่ ตัวหนอน และดักแด้ มดงานเป็นมดที่มีมากที่สุดในแต่ละรัง โดยมีหน้าที่รับผิดชอบในการสร้างรังและดูแลรัง หาอาหาร ดูแลครอบครัวและราชินี และป้องกันรัง ราชินีและเพศผู้ที่มีปีกจะอยู่ในรังช่วงสั้นๆเท่านั้น ในเวลาต่อมาก็จะออกจากรังเพื่อผสมพันธุ์และสร้างรังใหม่ ราชินีโดยทั่วไปคล้ายกับมดงาน ต่างกันตรงที่มีส่วนท้องใหญ่กว่า มดเพศผู้นั้นมีขนาดเท่ากับมดงานหรือเล็กกว่าเล็กน้อย มีหัวเล็กกว่าและตาเดี่ยว ส่วนมากดูคล้ายกับต่อมากกว่ามด มดงานเป็นวรรณะที่พบเห็นได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะขณะที่มดงานหาอาหารบนพื้นดินหรือเมื่อขอนไม้ผุหรือที่อยู่อาศัยถูกรบกวน อย่างไรก็ตาม มดงานบางส่วนเท่านั้นที่ออกไปหาอาหาร เนื่องจากมีการแบ่งหน้าที่การทำงานอย่างชัดเจนภายในรัง บางกรณีหน้าที่ที่เจาะจงนั้นขึ้นอยู่กับอายุของมดงาน ตัวอย่างเช่น มดงานที่ออกจากดักแด้ใหม่ๆจะคงอยู่ภายในรังและดูแลไข่ ตัวหนอน และดักแด้ เมื่อมีอายุมากขึ้น มดงานก็จะเปลี่ยนกิจกรรมจากดูแลครอบครัวและเริ่มงานใหม่ในการสร้างรังและทางเดิน ในที่สุดมดงานก็จะเป็นผู้ออกไปหาอาหาร แต่มดงานบางตัวอาจดำเนินกิจกรรมที่เหมือนกันตลอดทั้งชีวิต หรือบางกรณีมดงานทั้งหมดอาจดำเนินกิจกรรมทั้งหมดภายในกลุ่ม ในกลุ่มมดงานที่มีสองรูปแบบและหลายรูปแบบ ขนาดของมดงานจะมีอิทธิพลต่อการดำเนินกิจกรรม ตัวอย่างเช่น มดงานที่เป็น major อาจจะพบภายในรังหรือใกล้รังเท่านั้น ขณะที่มดงานที่เป็น minor เท่านั้นออกไปหาอาหารไกลจากรัง
ชีวิตของมด

รังมดโดยทั่วไปเริ่มด้วย ราชินี 1 ตัว ราชินีจะบินออกจากรังที่เป็นบ้านอาศัยพร้อมด้วยราชินีและมดเพศผู้ตัวอื่นๆด้วยและจากรังอื่นๆในบริเวณใกล้เคียง ราชินีจะค้าหาที่สำหรับผสมพันธุ์ โดยปกติจะถูกดึงดูดด้วยวัตถุขนาดใหญ่ ตัวอย่างเช่น ต้นไม้สูงๆ ไม้พุ่มขนาดใหญ่ และยอดเนินเขา บริเวณเหล่านี้จะเป็นที่พบกันสำหรับราชินีและมดเพศผู้ที่มาจากหลายรัง ทำให้สามารถพบกัน ราชินีก็จะผสมพันธุ์กับมดเพศผู้ 1 ตัว หรือ 2-3 ตัว ขณะยังคงบินอยู่ในอากาศแต่เป็นช่วงสั้นๆ หลังจากนั้นก็จะทิ้งตัวลงสู่พื้นดิน ราชินีจะค้นหาพื้นที่ทำรังที่เหมาะสม พื้นที่ราชินีค้นหานั้นแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดและสามารถมีขอบเขตตั้งแต่ยอดไม้จนถึงใต้ดิน ข่วงที่ราชินีค้นหาหรือขณะที่พบพื้นที่ที่เหมาะสมแล้วราชินีจะกัดปีกหรือสลัดปีกออกเนื่องจากไม่
ต้องการใช้แล้วจากนั้นราชินีจะห่อหุ้มตัวเองด้วยปลอกขนาดเล็กๆและวางไข่เป็นกลุ่มเล็กๆ ราชินียังคงอยู่ในรังกับครอบครัว

ขณะที่กำลังเจริญเติบโต ตัวหนอนที่กำลังเจริญเติบโตจะกินไข่ที่ไม่ได้ผสมซึ่งราชินีจะวางไข่โดยเฉพาะสำหรับเป็นอาหาร มดงานรุ่นที่ 1 มีขนาดเล็กกว่ามดงานรุ่นถัดๆมาเพราะว่าราชินีสามารถจัดเตรียมอาหารในปริมาณที่กำจัด เมื่อเปรียบเทียบกับการหาอาหารของมดงาน เมื่อมดงานเป็นตัวเต็มวัย ก็จะเริ่มออกจากรังและหาอาหาร โดยการจับเหยื่อกลับมาให้ราชินีและครอบครัวที่เพิ่มขึ้น กลุ่มมดพัฒนาขึ้น เพราะว่ามีมดงานตัวเต็มวัยมากขึ้น มดงานรุ่นใหม่ควบคุมดูแลครอบครัวรวมทั้งนำอาหารเพิ่มขึ้น ที่ระยะนี้ ราชินีจะลดกิจกรรมในการวางไข่และมดงานเข้ารับหน้าที่ทั้งหมดภายในรัง ราชินียังคงมีความจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตกลุ่มมดทั่วไป เพราะว่าราชินีจะควบคุมกิจกรรมของมดงานทั้งหมดในรังด้วยการส่งสารเคมี
รูปแบบการค้าหารังตามข้างบนเป็นรูปแบบหนึ่งที่พบทั่ว ไปและแพร่กระจายมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ยังมีมดอีกจำนวนมากที่แตกต่างไปจากนี้ ตัวอย่างเช่น การผสมพันธุ์อาจเกิดขึ้นบนหรือในรัง ราชินีหลายตัวสร้างรังร่วมกันและอาศัยอยู่ร่วมกันหรือต่อมาก็ต่อสู้กันในการ กำหนดราชินีที่เหลืออยู่ภายในรัง ส่วนราชินีตัวอื่นๆถูกบังคับให้ออกไปหรือถูกฆ่าตาย ส่วนในบางชนิดนั้นกลุ่มใหม่ถูกสร้างเมื่อราชินีใหม่ออกจากรังไปพร้อมกับมด งานจำนวนหนึ่งและกำหนดถิ่นฐานใหม่ที่ห่างไกลออกไป ราชินีหาอาหารข้างนอกรังก่อนที่มดงานรุ่นที่ 1 จะเกิดขึ้น เป็นต้น
ขณะที่กลุ่มมดงานจะเข้าสู่วัยแก่ ราชินีจะเริ่มผลิตราชินีและมดเพศผู้ในรุ่นถัดไป ปัจจัยหลายประการที่เป็นตัวกำหนดการผลิตราชินีใหม่ประกอบด้วย เวลาในรอบปี อาหารที่เป็นประโยชน์สำหรับการเจริญเติบโตของตัวอ่อน ขนาดและที่บรรจุไข่ที่วาง ฟีโรโมนหรือฮอร์โมนที่ผลิตโดยราชินีและอายุของราชินี ส่วนการผลิตมดเพศผู้นั้นถูกกำหนดโดยกลไกอย่างง่ายๆกว่าราชินี ตัวหนอนของราชินีและมดเพศผู้ใหม่จะคล้ายกับตัวหนอนของมดงานแต่โดยทั่วไปมีขนาดใหญ่กว่า เมื่อเป็นตัวเต็มวัยระยะแรกจะยังคงอยู่ในรังก่อนเพื่อคอยภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมในการเริ่มต้นออกจากรัง สภาพที่เหมาะสมนี้จะเป็นสาเหตุสำคัญในการกระตุ้นการออกจากรังของราชินีและมดเพศผู้เมื่อออกจากรังไปแล้ว ราชินีจะผสมพันธุ์และสร้างรังใหม่ภายใน 2-3 วันเท่านั้น ขณะที่มดเพศผู้โดยทั่วไปจะตายภายใน 2-3 วันหลังออกจากรัง


รังมด

ถึง แม้ว่าจะพบมดได้ง่ายอย่างไรก็ตาม ตาที่อยู่ของรังมดไม่ค่อยมีใครรู้มากนัก มดถือเป็นสัตว์กลุ่มหนึ่งที่มีการดัดแปลงสภาพสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับความ ต้องการโดยการสร้างรังอย่างปราณีตในบริเวณที่เลือก บางครั้งมีการใช้พลังงานไปจำนวนมากในการสร้างรัง รังมดโดยทั่วไปมีอายุเป็นปีและบางชนิดมีอายุถึง 10 ปี นอกจากนี้แล้ว มดบางชนิดจะใช้ไฟเบอร์ของพืชหรือดินในการสร้างเป็นเกราะป้องกันบริเวณที่หา อาหาร
รังมดในดินแตกต่างกันตั้งแต่รังขนดเล็กๆเป็นแอ่งอย่างง่ายๆอยู่ใต้ก้อนหิน ขอนไม้ หรือวัสดุอื่นๆที่อยู่ตามพื้นดิน จนเป็นอุโมงค์ที่ขายออกไปหลายๆเมตรใต้ดิน โครงสร้างของรังมดนี้แตกต่างไปตามแต่ละชนิดมด ชนิดดินและบริเวณที่สร้างรัง เมื่อมองดูจากด้านบนตั้งแต่ทางเข้าของรังไปในรังใต้ดินมีรูปแบบในขอบเขตที่กว้างมาก มดจำนวนมากมีรูทางเข้าขนาดใหญ่พอเพียงให้มดงาน 1 ตัวเข้าไปได้เท่านั้น บางชนิดเป็นทางเข้าเดี่ยวๆที่มีมูลดินล้อมรอบ ซึ่งแตกต่างกันออกไป มีตั้งแต่มูลดินต่ำและกว้างไปจนถึงมูลดินสูงเป็นป้อมแคบๆ มดจำนวนมากจะมีเศษพืชและดินล้อมรอบทางเข้ารังเป็นกองขนาดใหญ่ซึ่งด้านบนลาดลง บางชนิดมีการเก็บเศษพืชไปสร้างกำบังกองดินที่อยู่เหนือรังใต้ดิน มดบางชนิดสร้างรังอยู่บนต้นไม้ ตามกิ่ง ก้าน หรือลำต้นของต้นไม้ รังส่วนมากที่พบ ทางเข้าของรังมดงานชนิดต่างๆมีขนาดเล็กและวงกลมหรือไม่ก็โดยอาศัยโครงสร้างธรรมชาติของลำต้นและกิ่ง มีมด 2-3 ชนิดที่สร้างรังบนต้นไม้ จะสร้างโดยการใช้ใบไม้ ตัวอย่างเช่น มดแดง จะเชื่อมใบไม้แต่ละใบเข้าด้วยกันโดยเส้นใยที่ผลิตจากตัวอ่อนของมดแดง หรือบางชนิดที่อาศัยตามต้นไม้ จะใช้ไฟเบอร์ของพืชนั้นสร้างสิ่งปกคลุมรังซึ่งเชื่อมติดกับผิวใบ มดก็จะอาศัยอยู่ภายในปลอกหุ้มที่สร้างโดยสิ่งปกคลุมกับใบ ขณะที่มดจำนวนมากจะสร้างรังอย่างพิถีพิถัน แต่บางชนิดสร้างรังอย่างง่ายๆ มีมดจำนวนมากพบในขอนไม้ผุซึ่งจะนำไฟเบอร์พืชออกไปสร้างเป็นหลุมอย่างง่ายๆสำหรับมดงานและครอบครัว หลุมเหล่านี้อาจมีขนาดเล็กหรือขยายใหญ่ได้แต่มีความซับซ้อนของรังน้อยกว่ารังมดที่อยู่ใต้ดินหรือตามต้นไม้ มีมดบางชนิดที่ไม่มีรังที่แท้จริง จะพบเป็นกลุ่มเล็กๆบนพื้นดินในซากพืชหรือระหว่างรากพืช มดพวกนี้จะเคลื่อนย้ายรังบ่อยมากและสามารถพบตามบริเวณที่เหมาะสมได้กว้างขวาง


การหาอาหารของมด

ถ้าดูที่ส่วนปากขงมดแล้วพบว่า จะมีส่วนที่ใช้กัดและกินรวมไปถึงส่วนที่ใช้ดูดด้วย ดังนั้นมดส่วนมากสามารถดูดน้ำเลี้ยงพืชหรือของเหลวจากแมลงที่ขับถ่ายออกมาได้ รวมไปถึงการกัดและกินพืชที่ตายแล้วหรือชิ้นส่วนของสัตว์ มดงานส่วนใหญ่เป็นพวกตัวห้ำหรือกินซากสัตว์ (scavengers) อาหารของมดนั้นค่อนข้างกว้าง ประกอบด้วย สัตว์ที่ขาเป็นปล้องและเมล็ดพืช มดตัวเต็มวัยกินอาหารที่เป็นของเหลว โดยสะสมของเหลวจากเหยื่อที่จับได้หรือขณะที่ดูแลพวกเพลี้ยต่างๆ และแมลงกลุ่มอื่นๆ เหยื่อที่เป็นของแข็งนั้นก็จะนำกลับไปที่รังโดยมดงาน ตามปกติจะเป็นอาหารของตัวอ่อนมด ตัวเต็มวัยที่อยู่ในรังได้แก่ ราชินี ได้รับอาหารจำนวนมากหรือทั้งหมดจากมดงานที่หาอาหารได้โดยตรง ระหว่างที่หาอาหาร มดงานจะสะสมของเหลวซึ่งจะเก็บสะสมไว้ที่ส่วนบนของระบบย่อยอาหาร เมื่อกลับไปยังรัง มดงานเหล่านี้จะสำรองของเหลวที่สะสมไว้และผ่านเข้าไปยังมดงานตัวอื่นๆ
ขณะที่มดงานส่วนมากจะกินอาหารแตกต่างกันออกไป มีมดบางชนิดเจาะจงอาหารในวงแคบๆ มดจำนวนมากชอบกินพวกแมลงหางดีดเป็นอย่างมาก ส่วนมดบางชนิดชอบกินไข่ของสัตว์ที่มีขาเป็นปล้อง มดบางชนิดจะเข้าไปยังรังมดชนิดอื่นอย่างรวดเร็วเพื่อจับตัวอ่อนมดและดักแด้ มดจำนวนมากที่มีความจำเพาะกับอาหารที่กินนั้นจะมีการดัดแปลงลักษณะทางสัณฐาน ตัวอย่างเช่น กรามที่พบในพวกกลุ่มตัวห้ำชั้นสูงจะเรียวยาวมากและมีฟันขนดใหญ่ โดยเฉพาะตอนปลาย เมล็ดของพืชจำนวนมาก มีอาหารที่จำเพาะเรียกว่า elaiosomes ซึ่งจะดึงดูดมดให้เข้ามา มดจะสะสมเมล็ดโดยกินส่วนนี้เป็นอาหาร บางครั้งกินเมล็ดด้วย เมล็ดจำนวนมากยังคงงอกได้หลังจากส่วนที่มีอาหารถูกกินไป เมล็ดจะถูกวางไว้ภายในรังหรือบนกองตรงกลางที่มดสร้างขึ้นมา เป็นบริเวณที่เมล็ดจะมีการงอกในเวลาต่อมา มีความเชื่อว่าเมล็ดที่สะสมโดยมด มีโอกาสสูงมากในการงอกและรอดชีวิตเมื่อเปรียบเทียบกับเมล็ดที่ไม่ได้มีการสะสมจากมด เนื่องจากเมล็ดถูกทำลายน้อยมากโดยพวกกินเมล็ด และเนื่องจากเมล็ดถูกเก็บไว้ในร่มใกล้กับกองดินที่มีธาตุอาหาร โดยทั่วไป มดชอบออกหากินไม่ช่วงกลางวันก็กลางคืน การออกหากินของมดบางชนิดเกิดขึ้นทั้งกลางวันและกลางคืน ในบริเวณที่แห้งแล้ง กิจกรรมการหาอาหารของมดจำนวนมากขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ บางชนิดมีกิจกรรมระหว่างช่วงเช้าหรือเย็นเท่านั้น ส่วนบางชนิดมีกิจกรรมระหว่างตอนที่ร้อนที่สุดของวัน

ชีวิตแมลงสาบ

แมลงสาบเป็นแมลงดึกบรรพ์ที่อาศัยอยู่บนโลกนี้มานานประมาณ 250 ล้านปี โดยสันนิษฐานจากหลักฐานซึ่งเป็น ฟอสซิล (fossil) ที่ถูกค้นพบ ตามการจำแนกแมลงทางวิทยาศาสตร์แมลงสาบถูกจัดกลุ่มไว้ในชั้น (class) Insicta, อันดับ(order) Orthoptera แต่บางครั้งพบว่าในตำราบางเล่มแมลงสาบอาจจะถูกจัดอันดับ Dictyoptera หรือ Blattodea ก็ได้ ซึ่งการจำแนกที่ แตกต่างกันเหล่านี้เกิดขึ้นจากการใช้ลักษณะบางอย่างที่แตกต่างกันมาใช้ในการ จำแนก แมลงสาบถูกจำแนกย่อยเป็นวงศ์ (family) ต่างๆกันได้ 5 วงศ์ คือ Blattidae, Blatteidec, Blaberidae, Cryptocercidae และ Polyphagidae จนกระทั่งปัจจุบันนี้ แมลงสาบที่พบทั่วโลกมีทั้งสิ้นประมาณ 4,000 ชนิด

ชีววิทยาของแมลงสาบ
แมลงสาบมีแหล่งกำเนิดอยู่ในเขตอบอุ่น แต่ปัจจุบันพบว่ามีการแพร่กระจายไปทั่วโลก ซึ่งอาจจะติดไปกับสินค้าจำพวกหีบห่อหรือลังไม้ที่ขนส่งไปทางเรือหรือรถบรรทุก อย่างไรก็ตามยังคงพบแมลงสาบในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนมากกว่าพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็น โดยทั่วไปแมลงสาบชอบอาศัยอยู่ตามบ้านเรือน ท่อระบายน้ำ ร้านขายของชำ ร้านอาหาร ห้องครัวในโรงพยาบาลหรือโรงแรม โกดังเก็บสินค้าทางการเกษตรหรือกระดาษ เป็นต้น แมลงสาบชอบอาศัยอยู่ในบริเวณที่มืด อบอุ่น และมีความชื้นสูง ลักษณะโดยทั่วไปของแมลงสาบมีลำตัวแบนรีเป็นรูปไข่ ความยาวของลำตัวตั้งแต่ 1 ซม. ถึง 8 ซม. มีสีต่างๆกันตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงสีดำ บางชนิดอาจมีสีอื่นที่ค่อนข้างแปลกตา เช่น สีส้ม หรือสีเขียวก็ได้ โดยทั่วไป แมลงสาบตัวเมียจะอ้วนกว่าตัวผู้ หัวของแมลงสาบมีลักษณะคล้ายผลชมพู่ คือ ด้านบนป้านส่วนด้านล่างเรียวลง และสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ส่วนหัวจะติดกับส่วนอกโดยมีส่วนคอเล็กๆเชื่อมอยู่ แมลงสาบอาจมีปีกหรือไม่มีปีกก็ได้ โดยปกติพวกที่มีปีกเจริญดีจะมีปีก 2 คู่ ปีกคู่แรกจะแข็งแรงกว่าปีกคู่หลัง ทั้งนี้ปีกคู่หลังซึ่งมีลักษณะเป็นเยื่อบางๆจะซ้อนทับอยู่ใต้ปีกคู่แรก ปีกของแมลงสาบจะปกคลุมลำตัวด้านบนไว้เกือบทั้งหมด อย่างไรก็ตามแมลงสาบบางชนิดอาจมีปีกที่กุดสั้น ถึงแม้ว่าแมลงสาบจะสามารถบินได้ก็ตามแต่โดยทั่วไปแล้วมักเดินหรือวิ่งมากกว่า ทั้งนี้จะบินในกรณีที่ถูกรบกวนเท่านั้น แมลงสาบมีขา 3 คู่ ขาคู่หน้าเล็กกว่าขาคู่หลัง ขาของแมลงสาบนั้นมีลักษณะเป็นขาสำหรับวิ่งจึงทำให้แมลงสาบวิ่งได้เร็วมาก แมลงสาบมีหนวดยาวเรียวแบบเส้นด้าย 1 คู่ ซึ่งมีขนเล็กๆจำนวนมากอยู่รอบๆหนวด ปากมีลักษณะเป็นแบบดักเคี้ยว แมลงสาบสามารถกินอาหารได้ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ แต่ส่วนมากชอบกินเศษอาหารประเภทแป้งหรือน้ำตาล ซากสัตว์หรือแมลงที่ตายแล้ว น้ำลาย เสมหะ อุจจาระ กระดาษ หรือแม้แต่ผ้า เป็นต้น แมลงสาบมีนิสัยชอบกินอาหารและถ่ายอุจจาระออกมาตลอดทางที่เดินผ่าน ชอบออกหากินในเวลากลางคืนและมักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม แต่ก็มีแมลงสาบบางชนิดที่ออกหากินในเวลากลางวัน
วงจรชีวิตของแมลงสาบ
แมลง สาบมีการเจริญเติบโตเป็นแบบไม่สมบูรณ์ (Incomplete metamorphosis) ซึ่งเป็นการเจริญเติบโตที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปร่างและขนาด วงจรชีวิต (life cycle) ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ไข่ (egg), ตัวอ่อนหรือตัวกลางวัย (nymph), และตัวเต็มวัย (adult) ตัวอ่อนจะมีรูปร่างลักษณะคล้ายตัวเต็มวัยมาก ต่างกันที่ขนาด ปีก และอวัยวะสืบพันธุ์เท่านั้น แมลงสาบวางไข่เป็นกลุ่ม กลุ่มละหลายฟอง และจะเชื่อมติดกันเป็นกลุ่มด้วยสารเหนียวมีลักษณะเป็นแคปซูล หรือกระเปาะ รูปร่างเหมือนเมล็ดถั่ว (ootheca) รูปร่างลักษณะของแคปซูลจะแตกต่างกับไปไม่แน่นนอนแล้วแต่ชนิดของแมลงสาบ แมลงสาบบางชนิดจะนำกระเปาะไข่ติดตัวไปด้วยจนไข่ใกล้จะฟักจึงปล่อยออกจากลำ ตัว แต่บางชนิดอาจมีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (parthenogenesis) ก็ได้ ลักษณะการวางไข่ของแมลงสาบแตกต่างกัน บางชนิดจะวางไข่ตามซอกมุมหรือในดิน หรืออาจจะวางติดกับฝาผนังบ้าน หรือเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ จำนวนไข่ในแต่ละกระเปาะจะแตกต่างกันตามแต่ชนิดของแมลงสาบด้วย โดยทั่วไปจะมีประมาณ 16/18 ฟอง แต่อาจจะวางได้หลายชุด บางชนิดอาจจะวางเพียง 4-6 ชุด แต่บางชนิดอาจวางมากถึง 90 ชุด ก็ได้ อายุของไข่จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความชื้น ปกติไข่จะฟักได้เร็วในที่ๆมีอุณหภูมิสูง ตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ๆจะมีสีขาวและไม่มีปีก มีการดำรงชีพแบบอิสระ (free living) เมื่อมีอายุได้ 3-4 สัปดาห์ ก็จะมีการลอกคราบเกิดขึ้น การลอกคราบนี้จะเกิดขึ้นอีกหลายครั้งจนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัย ในแมลงสาบที่มีปีกเกิดขึ้นมีลักษณะเป็นแผ่นเล็กๆอยู่ทางด้านข้างของอกปล้อง ที่ 2 และ 3 และจะค่อยๆมีขนาดใหญ่ขึ้นจนกระทั่งเจริญเต็มที่เมือเป็นตัวเต็มวัยแต่บาง ชนิดก็จะมีลักษณะเป็นติ่งยื่นออกมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ถึงแม้จะเป็นตัวเต็มวัยแล้วก็ตาม บางชนิดก็ไม่มีปีกเลย จำนวนครั้งในการลอกคราบของตัวอ่อนและระยะเวลาที่ใช้ในการเจริญเติบโตจน กระทั่งเป็นตัวเต็มวัย จะแตกต่างกันตามแต่ชนิดของแมลงด้วย เมื่อเจริญเป็นตัวเต็มวัยแล้วก็จะมีการผสมพันธุ์และการวางไข่เกิดขึ้น หลังจากวางไข่หมดก็จะมีอายุต่อไปได้อีกหลายวัน
การกระจายตัวของแมลงสาบ
แมลงสาบมีแหล่งกำเนิดในเขตอบอุ่น และสามารถดำรงชีวิตอยู่ภายนอกอาคารที่พักอาศัยได้แมลงสาบที่สามารถปรับตัว เข้ามาอยู่ในที่พักของมนุษย์ได้ เรียกว่า domestic species การแพร่กระจายของแมลงสาบเกิดขึ้นจาการขนส่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางเรือ นอกจากนั้นแล้วยังสามารถติดไปกับห้องเก็บสัมภาระ และห้องครัวในเครื่องบินอีกด้วย ซึ่งแมลงสาบชนิดที่มีความสำคัญคือ แมลงสาบเยอรมัน และแมลงสาบอเมริกัน
ในเขตร้อนระมีความหลากหลายของแมลงสาบมากกว่าในเขตอบอุ่น สามารถพบได้ตั้งแต่แมลงสาบที่มีลำตัวใหญ่จนถึงแมลงสาบที่มีลำตัวขนาดเล็ก แมลงสาบบางชนิดมีแหล่งอาศัยอยู่ในบริเวณที่โล่งแจ้งตามป่า ภูเขา ในถ้ำค้างคาว ส่วนใหญ่จะอาศัยบริเวณใต้เปลือกไม้ของต้นไม้ที่ตายแล้ว ในท่อนซุงผุ และอยู่ใต้ใบกิ่งไม้ที่ร่วงทับถมบนพื้นป่า บางชนิดจะพบอาศัยอยู่ในเขตแห้งแล้งโดยการหมกซ่อนตัวอยู่ในทราย สามารถพบได้ตามกระสอบ กล่องกระดาษหรือหีบห่อที่มีอาหาร ในร้านซักแห้ง หรือในห้องครัวที่มีการเตรียมอาหาร ร้านอาหาร ตลาด ในกล่องกระดาษที่บรรจุเครื่องดื่มประเภทเบียร์ ซึ่งพบว่ามีตัวอ่อนของแมลงสาบอยู่ในขวดเบียร์เพียงขวดเดียวมากถึง 200 ตัว และยังสามารถพบตามเครื่องไฟฟ้าเป็นจำนวนพันๆตัวโดยที่แมลงสาบเหล่านี้มี ชีวิตรอดอยู่ได้ในสภาพที่ไม่มีอาหาร แต่จะกินผิวหนังที่ลอกคราบออกมาและกินซากแมลงสาบตัวอื่นๆที่ตายแล้ว มักจะพบแมลงสาบตามพื้นที่มืดและชื้น โดยมันจะเข้ามาภายในบ้านทางท่อต่างๆ ช่องระบายอากาศ หรือใต้บางประตู
อุปนิสัยโดยทั่วไปของแมลงสาบ
- ชอบอยู่เป็นกลุ่ม ตามซอกมุมภายในบ้าน นอกบ้าน ท่อน้ำทิ้งทั้งในและนอกอาคารบ้านเรือน ตามซอกมุมที่อับชื้น ที่การทำความสะอาดเข้าไม่ถึง
- ไม่ชอบแสงสว่าง มักไม่ค่อยพบแมลงสาบในเวลากลางวัน แต่จะออกมาหาอาหารและทำกิจกรรมต่างๆในเวลากลางคืนและในที่มืด
- แมลงสาบกินอาหารได้เกือบทุกชนิด
- มักจะวางกระเปาะไข่ในบริเวณที่ตัวอ่อนจะสามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ง่าย เช่น ตามวอกอับชื้นภายในบ้าน หรือใกล้บริเวณที่มีน้ำและอาหารอยู่อย่างสม่ำเสมอ

แมลงสาบที่พบได้ในบ้านเรือนในประเทศไทย
ศูนย์ข้อมูลโรคติดเชื้อและพาหะนำโรครายงานว่า จากการสำรวจแมลงสาบในประเทศไทยพื้นที่ทั้งหมด 14 จังหวัด โดยใช้กับดักกาวเหนียวดักจับแมลงสาบอย่างน้อย 30 หลังคาเรือน ในแต่ละจังหวัด โดยวางกับดักกาวเหนียวในพื้นที่ห้องครัว ห้องนอน และบริเวณนอกบ้าน พบแมลงสาบอเมริกัน 60.9% Large brown cockroach 15.4%, Harlequin cockroach 9.6%, แมลงสาบออสเตรเลีย 9.2%, แมลงสาบสุรินัม 3.3%, แมลงสาบเยอรมัน 0.6%, Smokybrown cockroach 0.5%, Brown-banded cockroach 0.3%, Smaller German cockroach 0.15%, และ Loblter cockroach 0.05% ซึ่งจาการศึกษาพบว่า แมลงสาบอเมริกันและ Large brown cockroach มีการแพร่ระบาดมากที่สุดในบริเวณห้องครัวของบ้าน
จากผลการสำรวจของ Asahina and Hasegawa (1981), Asahina (1983), สุวัฒนา จึงวิวัฒนาภรณ์ (2527) และ Tawatsin et al. (2001) สรุปได้ว่าแมลงสาบที่พบได้ในบ้านเรือนในประเทศไทยจนถึงปัจจุบันนี้ มีทั้งสิ้น 12 ชนิด คือ1. Periplaneta americana
หรือแมลงสาบอเมริกัน (Americana cockroach) เป็นแมลงสาบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบในบ้านเรือน ลำตัวสีน้ำตาลแดงมันวาว บนแผ่นแข็งปกคลุมส่วนหัวและอก (pronotum) มีจุดดำขนาดใหญ่ 2 จุด ล้อมรอบด้วยวงเส้นสีเหลืองซึ่งอาจเต็มวงหรือมีเพียงครึ่งวงก็ได้ ส่วนรอบนอกสุดเป็นวงสีดำ หนวดเรียวและยาวกว่าลำตัว ตัวผู้ยาว 33-40 มม. ตัวเมียยาว 30-35 มม. ทั้งสองเพศเพศมีปีกเจริญดีและยาวถึงปลายของส่วนท้อง ปีกมีสีน้ำตาลแดงตลอดทั้งปีกและไม่มีแถบสีเหลืองที่ขอบปีก แมลงสาบอเมริกันเป็นแมลงสาบที่พบมากตามท่อระบายน้ำ ห้องน้ำ ในครัว ตู้กับข้าว ห้องเก็บของ กล่องกระดาษที่ใช้เก็บวัสดุสิ่งของ ตู้หนังสือ ลิ้นชัก และใต้ฝ้าเพดาน เป็นต้น2. Periplaneta brunnea
หรือ Large brown cockroach เป็นแมลงสาบที่มีขนาดเล็กกว่าแมลงสาบอเมริกันเพียงเล็กน้อยลักษณะโดยทั่วไป ก็คล้ายคลึงกับแมลงสาบอเมริกัน แต่ลำตัวมีสีน้ำตาลแดงคล้ำ บนแผ่นปกคลุมส่วนหัวและอก (pronotum) มีจุดสีดำขนาดใหญ่ 2 จุด ล้อมรอบด้วยวงเส้นสีเหลือง แต่วงเส้นสีเหลืองนี้ค่อนข้างพล่ามัวไม่ค่อยชัดเจนเหมือนของแมลงสาบอเมริกัน อาจเห็นเป็นรูปส้อมอยู่บนขอบหลังของแผ่นแข็งปกคลุมส่วนหัวและอก (pronotum) ส่วนรอบนอกสุดเป็นวงสีดำ หนวดยาวและเรียวกว่าลำตัว ตัวผู้ยาว 30-37 มม. ตัวเมียยาว 28-35 มม. ทั้งสองเพศมีปีกเจริญดีและยาวถึงปลายส่วนท้อง ปีกมีสีน้ำตาลแดงตลอดทั้งปีกและไม่มีแถบสีเหลืองที่ขอบปีก โดยมากมักพบแมลงสาบชนิดนี้ได้ทั่วไปในบ้านเรือนเช่นเดียวกับแมลงสาบอเมริกัน

3. Periplaneta australasiae
หรือแมลงสาบออสเตรเลีย (Australian cockroach) เป็นแมลงสาบที่มีขนาดเล็กกว่าแมลงสาอเมริกันเพียงเล็กน้อย ลักษณะโดยทั่วไปก็คล้ายกับแมลงสาบอเมริกัน แต่ลำตัวสีน้ำตาลแดงเข้มกว่าและปีกมีแถบสีเหลืองอ่อนบริเวณขอบปีกข้างละ 1 แถบ ซึ่งแถบนี้จะยาวประมาณ 1 ใน 3 ของความยาวปีก ลักษณะคล้ายสายสะพายเป้ บนแผ่นแข็งปกคลุมส่วนหัวและอก (pronotum) มีจุดดำขนาดใหญ่ 2 จุด ล้อมรอบด้วยวงเส้นสีเหลืองเด่นชัดและรอบนอกสุดเป็นวงสีดำ หนวดเรียวและยาวกว่าลำตัว ทั้งสองเพศมีปีกเจริญดีและยาวถึงปลายของส่วนท้อง ตัวผู้ยาว 30-33 มม. ตัวเมียยาว 28-31 มม. แมลงสาบออส-เตรเลีย ชอบสภาพแวดล้อมคล้ายๆกับแมลงสาบอเมริกัน แต่ก็อาจพบแมลงสาบชนิดนี้บริเวณนอกบ้านได้บ้าง

4. Periplaneta fuliginosa
หรือ Smokybrown cockroach เป็นแมลงสาบที่มีลักษณะใกล้เคียงกับแมลงสาบอเมริกัน แต่ลำตัวสีน้ำตาลเข้มมันวาว ทั้งตัวผู้และตัวเมียยาวประมาณ 30-34 มม. หนวดเรียวและยาวกว่าลำตัวทั้งสองเพศมีปีกเจริญดีและยาวคลุมถึงปลายของส่วนท้อง แมลงสาบชนิดนี้พบมากในสหรัฐอเมริกา หลายประเทศในทวีปยุโรป ญี่ปุ่น และจีน เพิ่งจะมีรายงานการสำรวจพบแมลงสาบชนิดนี้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2544 โดยสำรวจพบที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งพบได้ทั้งในและนอกบ้าน บริเวณในบ้านที่สำรวจพบคือห้องนอนและห้องครัว

5. Blattella germanica
หรือแมลงสาบเยอรมัน (German cockroach) เป็นแมลงสาบขนาดเล็ก มีหนวดเรียวและยาวกว่าลำตัว ตัวผู้ยาว 11-13 มม. ตัวเมียยาว 11-15 มม. ทั้งสองเพศมีปีกเจริญดี ปีกอาจยาวหรือสั้นกว่าส่วนท้องเล็กน้อย มีแถบสีดำอยู่ระหว่างตาทั้งสองข้าง ลำตัวสีน้ำตาลซีดแต่เป็นประกาย ขามีสีอ่อนกว่าลำตัว แผ่นแข็งปกคลุมส่วนอกและท้อง (pronotum) มีสีพื้นเป็นสีน้ำตาลอ่อนและมีแถบสีดำ 2 แถบ พาดขนานตามแนวยาวของลำตัว ในอาคารบ้านเรือนจะพบแมลงสาบเยอรมันได้ในห้องครัว ชั้นวางของ ลิ้นชัก ซอกโต๊ะ หรือกล่องเก็บของ เป็นต้น

6. Blattella litulicollis
หรือ Smaller German cockroach เป็นแมลงสาบที่มีขนาดเล็กและลักษณะคล้ายคลึงกับแมลงสาบเยอรมันมาก มีหนวดเรียวยาวกว่าลำตัว ตัวผู้และตัวเมียยาวประมาณ 11-13 มม. ทั้งสองเพศมีปีกเจริญดีและปีกยาวกว่าลำตัวมาก มีแถบสีดำอยู่ระหว่างตาทั้งสองข้าง ลำตัวสีน้ำตาลซีดอ่อนกว่าแมลงสาบเยอรมัน แผ่นแข็งปกคลุมส่วนอกและท้อง (pronotum) มีสีพื้นเป็นสีน้ำตาลอ่อนและมีแถบสีดำ 2 แถบ พาดขนานตามแนวยาวของลำตัว แต่แถบดำนี้ค่อนข้างเล็กกว่าของแมลงสาบเยอรมัน ในบ้านจะพบแมลงสาบชนิดนี้ชอบเกาะอยู่ตามฝาผนัง

7. Neostylopyga rhombifolia
หรือ Harlequin cockroach ชาวบ้านบางพื้นที่เรียกว่าแมลงสาบผี เป็นแมลงสาบที่มีขนาดปานกลางจนถึงขนาดใหญ่ มีหนวดเรียวและยาวกว่าลำตัว ตัวผู้ยาว 18-26 มม. ตัวเมียยาว 22-31 มม. ทั้งสองเพศมีปีกที่มีลักษณะเป็นเพียงเกล็ดปีกและมีเฉพาะปีกหน้า แผ่นแข็งปกคลุมส่วนหัวและอก (pronotum) มีจุดสีดำขนาดใหญ่ 2 จุด รอบๆสองจุดนี้เป็นสีเหลือง ส่วนรอบนอกสุดของ pronotum เป็นสีดำ ลำตัวเป็นลวดลายสวยงามสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำสลับเหลือง ในอาคารบ้านเรือนจะพบแมลงสาบชนิดนี้มากในกล่องกระดาษหรือภาชนะที่ใช้เก็บ วัสดุสิ่งของต่างๆ นอกจากนี้ยังพบได้ในห้องครัว ตู้กับข้าว หรือตู้เก็บของ

8. Nauphoeta cinera
หรือ Lobster cockroach เป็นแมลงสาบที่มีขนาดปานกลางลักษณะอ้วนเตี้ย ส่วนท้องค่อนข้างกลม ขาสั้น หนวดสั้นกว่าลำตัว ตัวผู้ยาว 22-28 มม. ตัวเมียยาว 22-33 มม. ทั้งสองเพศมีปีกเจริญดีสีน้ำตาลหม่น โดยปีกจะสั้นกว่าส่วนท้อง ลำตัวสีน้ำตาลหม่นออกเทา แผ่นแข็งปกคลุมส่วนหัวและอก (pronotum) มีลวดลายขยุกขยิกสีน้ำตาลขอบทั้งสองข้างของ pronotum มีแถบสีขาวอยู่นอกสุด และถัดเข้ามาเป็นแถบสีดำ ในอาคารบ้านเรือนจะพบแมลงสาบชนิดนี้มากในบริเวณพื้นครัว ในตู้เก็บของครัว กล่องเก็บวัสดุหรืออาหารแห้ง

9. Supella longipalpa
หรือ Brown-banded cockroach เป็นแมลงสาบที่มีขนาดเล็ก มีหนวดเรียวและยาวกว่าลำตัว ตัวผู้ยาว 12-14 มม. ตัวเมียยาว 9-13 มม. ทั้งสองเพศมีปีกเจริญดี ปีกของตัวผู้จะเรียวยาวปกคลุมส่วนท้องทั้งหมด ปีกของตัวเมียจะสั้นและกลมกว่าของตัวผู้ ขอบปีกหน้ามีแถบสีน้ำตาลอ่อนพาดตามแนวขวางสองแถบ ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงสีน้ำตาลเข้ม แผ่นแข็งปกคลุมส่วนหัวและอก (pronotum) มีสีดำเป็นรูปคล้ายระฆังอยู่ตรงกลาง ขอบด้านทั้งสองของ pronotum มีแถบสีขาวหรือน้ำตาลอ่อน ส่วนมากจะพบแมลงสาบชนิดนี้ในบ้านได้ตามกล่องเก็บของ ตู้เก็บเอกสาร ลิ้นชัก ใต้หรือหลังเฟอร์นิเจอร์ บางคนจึงเรียกว่าแมลงสาบเฟอร์นิเจอร์ (furniture cockroach)

10. Pycnoscelus surinamensis
หรือ แมลงสาบสุรินัม หรือแมลงแกลบ (Surinum cockroach) เป็นแมลงสาบที่มีขนาดปานกลาง ตัวผู้ยาว 13-17 มม. ตัวเมียยาว 15-18 มม. หนวดสั้นกว่าลำตัว ปีกเจริญดีมีสีอ่อนกว่าสีของลำตัว แผ่นแข็งปกคลุมส่วนหัวและอก (pronotum) มีแถบสีเหลืองขยายยาวจนคลุมขอบด้านข้าง หรืออย่างน้อยจะเป็นแถบหรือจุดสีเหลืองตรงขอบด้านข้าง ขอบหลังของ pronotum เป็นมุมแหลมมน ส่วนท้องค่อนข้างอ้วนกลม โดยปกติแล้วแมลงสาบชนิดนี้ชอบอาศัยอยู่ภายนอกอาคารบ้านเรือน มักพบในโพรงดินหรือบริเวณที่มีก้อนหินทับ อย่างไรก็ตามบ่อยครั้งที่พบว่าแมลงสาบชนิดนี้สามารถเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้าน เรือนได้เช่นกัน

11. Pycnoscelus indius
หรือ Burrowing cockroach หรือแมลงแกลบ เป็นแมลงสาบที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกับแมลงสาบสุรินัม ตัวผู้ยาว 17-23 มม. ตัวเมียยาว 16-24 มม. หนวดสั้นกว่าลำตัว ปีกเจริญดีมีสีน้ำตาลอ่อนตัดกับสีดำของลำตัว แผ่นแข็งปกคลุมส่วนหัวและอก (pronotum) มีสีดำและขอบด้านหน้าถึงด้านข้างมีแถบสีขาวหรือสีครีม หรืออาจมีแถบสีนี้เฉพาะที่ด้านหน้าเท่านั้นก็ได้ ขอบหลังของ pronotum เป็นมุมแหลมมน แมลงสาบชนิดนี้มีรายงานการสำรวจพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเพียงครั้งเดียวเมื่อปี พ.ศ. 2527 มักพบแมลงสาบชนิดนี้ในบริเวณที่ค่อนข้างชื้นหรือมีดิน เช่น ใต้กระถางต้นไม้ ถังขยะ หรือใต้แผ่นไม้ เป็นต้น

12. Hebardina concinna
เป็นแมลงสาบขนดเล็ก ตัวผู้ยาวประมาณ 18 มม. ส่วนตัวเมียยาวประมาณ 15 มม. ลำตัวและปีกสีน้ำตาลดำ ขาสีอ่อนกว่าลำตัว มีปีกเจริญดีความยาวของปีกคลุมไปจนถึงปลายท้อง แมลงสาบขนิดนี้มีรายงานการสำรวจพบในประเทศไทยเพียงครั้งเดียวเมื่อปี พ.ศ. 2526

 

ความสำคัญทางเศรษฐกิจและทางสาธารณสุข
แมลงสาบเป็นแมลงที่จัดอยู่ในพวกเดียวกับปลวกที่สร้างความเสียหายที่สุดให้กับผู้พักอาศัยในบ้าน ซึ่งต้องทำการควบคุมกำจัด ในขณะที่แมลงวันและยุงจัดเป็นแมลงศัตรูในบ้านที่สำคัญในบางพื้นที่ การทำลายของแมลงสาบนั้น แมลงสาบจะเข้าไปรบกวนและกัดกินอาหารทุกชนิด แล้วขับถ่ายของเสีย (fecal material) ทิ้งไว้ทำให้อาหารเน่าเสียและมีกลิ่นเหม็น ด้วยสาเหตุดังกล่าวมีผลทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการควบคุมและป้องกันกำจัดแมลงสาบเป็นจำนวนมาก ในแต่ละปีแมลงสาบจึงมีผลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ตลอดจนสภาวะทางด้านเศรษฐกิจและสังคม สามารถแบ่งความเสียหายที่เกิดจากแมลงสาบได้ดังนี้ คือ1. แมลงสาบก่อความรำคาญ
แมลงสาบมีการแพร่ขยายพันธุ์ภายในบ้านเรือน กินของมนุษย์ใช้ในการอุปโภค บริโภค และอาศัยอยู่ภายในบ้านตลอดทั้งปี พวกมันจะกินอาหารของมนุษย์และสัตว์เลี้ยง ซากสัตว์ที่ตายแล้ว ต้นพืช เครื่องหนัง กาว เส้นผม ขอบสันหนังสือ และอื่นๆอีกมากมาย
แมลงสาบเป็นแมลงที่หากินในเวลากลางคืน ถ้าพบเห็นว่ามีแมลงสาบเดินในช่วงเวลากลางวันเพียงแค่ 1-2 ตัว นั่นแสดงว่ามีการชุกชุมของแมลงสาบอย่างมาก สิ่งที่สามารถพบเห็นได้บ่อยครั้ง คือซากแมลงสาบที่ตายแล้ว, ผนังลำตัวที่ลอกคราบออกมา, กระเปาะไข่ที่ว่างเปล่า (ตัวอ่อนที่ฟักตัวออกไปแล้ว) และมูลที่แมลงสาบถ่ายทิ้งไว้ ขนาดของมูลมีตั้งแต่เล็กมากจนถึงขนาดใหญ่เท่ากับมูลของหนู ถ้ามีแมลงสาบชุกชุมมากจะพบมูลได้มากเช่นกันตามบริเวณมุมชั้นวางของ

2. แมลงสาบสร้างความเสียหายด้านสาธารณสุข
แมลงสาบเป็นแมลงที่มีความสำคัญทางสาธารณสุข กล่าวคือ ภายในและภายนอกลำตัวของแมลงสาบที่มีเชื้อ
จุลินทรีย์หลายชนิดที่เป็นสาเหตุของโรคที่เกิดกับมนุษย์ พบได้ในเกือบทุกส่วนของร่างกาย หรือแม้กระทั่งในมูลของแมลงสาบ และมักจะพบเชื้อ Salmonella ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษอยู่เสมอ พบว่ามูลของแมลงสาบอเมริกันที่มีเชื้อ Salmonella oranienburg ซึ่งสามารถแพร่ไปยังอาหารของมนุษย์และภาชนะแก้ว เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในช่วงระยะเวลานานกว่า 3 ปี
แมลงสาบอเมริกันที่มีเชื้อจุลินทรีย์โปรโตซัว Toxoplasma จะก่อให้เกิดความพิการของทารกในครรภ์ ซึ่งการติดต่อเชื้อโรคนี้เกิดขึ้นโดย แมวที่กินนกหรือหนูเป็นอาหาร ซึ่งนกหรือหนูนั้นมีเชื้อจุลินทรีย์ชนิดนี้อยู่ เมื่อแมวถ่ายมูลออกมาเชื้อจะปะปนอยู่ในมูลของแมว แมลงสาบและแมลงวันบางชนิดจะกินหรือเดินผ่านมูลของแมว ซึ่งจะสามารถปนเปื้อนบนอาหารของมนุษย์ได้หากแมลงสาบเดินผ่านและแมลงสาบก็ยัง กลับไปเป็นอาหารของนก หนู หรือแมวได้อีกเช่นกัน

โรคและเชื้อโรคสำคัญที่นำโดยแมลงสาบ แบ่งออกได้ตามเชื้อสาเหตุของโรคได้ คือ
            1. เชื้อแบคทีเรีย
โรคที่สำคัญที่มีเชื้อแบคทีเรียเป็นสาเหตุ ได้แก่ โรคเรื้อน กาฬโรค โรคบิด โรคท้องเสียในเด็ก โรคติดเชื้อของช่องขับถ่าย (Urinary tract) โรคฝีและผิวหนังพุพอง โรคในระบบทางเดินอาหาร โรคอาหารเป็นพิษ และโรคไทฟอยด์2. หนอนพยาธิ
แมลงสาบสามารถเป็นโฮสต์กึ่งกลาง (intermediate host) ของพยาธิได้หลายชนิด เช่น พยาธิปากขอ (Ancylostoma duodenle), พยาธิไส้เดือนกลม (Ascaris Iumbricoides), พยาธิตืดแคระ (Hymenolepis nana), พยาธิตืดวัว (Taenia saginata), พยาธิใบไม้โลหิต (Schistosoma haematobium) เป็นต้น
โรคที่มีหนอนพยาธิเป็นสาเหตุ ได้แก่ โรค Schistosomiases โรคระบบลำไส้ และโรคโลหิตจง หนอนพยาธิสามารถอาศัยอยู่ในตัวแมลงสาบประมาณ 12 ชนิด ซึ่งสามารถผ่านออกมาทางมูลของแมลงสาบได้

3. เชื้อไวรัส
ยังไม่พบว่ามีการแพร่เชื้อไวรัสซึ่งนำโดยแมลงสาบมาสู่มนุษย์ แต่จากการศึกษาในห้องทดลองพบว่าแมลงสาบสามารถเป็นพาหะของเชื้อไวรัส ซึ่งเป็นเชื้อสาเหตุของโรคตับอักเสบ (Hepatitis)

4. เชื้อโปรโตซัว
มีเชื้อโปรโตซัวหลายชนิดที่พบในแมลงสาบ ซึ่งเชื้อโปรโตซัว Toxoplasma เป็นสาเหตุทำให้เกิดความพิการของทารกในครรภ์ และมีเชื้อโปรโตซัวอีกหลายชนิดที่เป็นสาเหตุของโรคท้องเสีย หรือโรคบิด

5. เชื้อรา
พบมีเชื้อรา 2 ชนิดที่เป็นสาเหตุของโรคระบบทางเดินหายใจคือ Aspergillus fumigatus และ โรคผิวหนังคือ Aspergillus niger

3. แมลงสาบทำอันตรายต่อร่างกายมนุษย์
จากรายงานการสำรวจในเรือที่มีการระบาดของแมลงสาบ สูง พบว่าแมลงสาบอเมริกัน (Periplaneta americana) และแมลงสาบออสเตรเลีย (P. australasiae) จะเข้ามากัดแทะผิวหนังและเล็บของชาวประมงในขณะที่นอนหลับ ซึ่งต้องป้องกันโดยการสวมถุงมือและถุงเท้าขณะนอนหลับ

4. แมลงสาบเป็นพาหะนำเชื้อโรค
จากรายงานการวิจัยทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศพบว่า แมลงสาบเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้และหอบหืดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในผู้ป่วยเด็ก แมลงสาบจะปล่อยสารก่อภูมิแพ้ (allergen) ออกมาสู่บริเวณที่เดินผ่านหรือฟุ้งลอยอยู่ในอากาศ เมื่อมนุษย์สัมผัสสารก่อภูมิแพ้เหล่านี้ต่อเนื่องกันในระยะเวลาพอสมควรก็จะ ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้และหอบหืดขึ้นได้ สารก่อภูมิแพ้เหล่านี้เชื่อว่าเกิดมาจากมูลหรือสารบางอย่างบนตัวของแมลงสาบ ผลการวิจัยจากหลายๆ รายงานพบว่ามีผู้ป่วยโรคภูมิแพ้และหอบหืดจำนวนไม่น้อยที่ให้ผลทดสอบที่เป็น บวกต่อการทดสอบกับสารก่อภูมิแพ้ที่สกัดจากแมลงสาบอเมริกันและแมลงสาบเยอรมัน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าแมลงสาบทั้งสองชนิดนี้เป็นตัวการสำคัญชนิดหนึ่งที่ก่อ ให้เกิดโรคภูมิแพ้และหอบหืดของมนุษย์