ความรู้เรื่องปลวก

ปลวกเป็นแมลงที่มีชีวิตความเป็นอยู่แบบสังคม มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ ภายในรังโดยทั่วไปมีนิสัยไม่ชอบแสงสว่าง ชอบที่มืด และอับชื้น ประชากรปลวกมีการแบ่งแยกหน้าที่การทำงานออกไปตามวรรณะต่างๆ รวม 3 วรรณะ คือ
1. วรรณะสืบพันธุ์หรือแมลงเม่า
ประกอบด้วยตัวเต็มวัยที่มีปีกมีทั้งเพศผู้ และเพศเมีย ทำหน้าที่สืบพันธุ์และกระจายพันธุ์ โดยจะบินออกจากรังเมื่อดินฟ้าอากาศเหมาะสม เมื่อจับคู่กันแล้ว จะสลัดปีก ผสมพันธุ์กัน และหาพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อวางไข่
2. วรรณะกรรมกร หรือปลวกงาน
เป็นปลวกตัวเล็กสีขาวนวลไม่มีปีก ไม่มีเพศ ไม่มีตา ใช้หนวดเป็นอวัยวะรับความรู้สึกคลำทางทำหน้าที่เกือบทุกอย่างภายในรัง เช่น หาอาหารป้อนราชินี ราชา ตัวอ่อน และทหาร ซึ่งไม่หาอาหารกินเอง นอกจากนี้ยังทำหน้าที่สร้างรัง ทำความสะอาดรัง ดูแลไข่ เพาะเลี้ยงเชื้อรา และซ่อมแซมรังที่ถูกทำลาย
3. วรรณะทหาร
เป็นปลวกที่มีหัวโต สีเข้ม และแข็งแรง มีกรามขนาดใหญ่ ซึ่งดัดแปลงไปเป็นอวัยวะคล้ายคีมที่มีปลายแหลมคม เพื่อใช้ในการต่อสู้กับศัตรูที่มารบกวนสมาชิกภายในรัง ไม่มีปีก ไม่มีตา ไม่มีเพศ บางชนิดจะดัดแปลงส่วนหัวให้ยื่นยาวออกเป็นงวง เพื่อกลั่นสารเหนียวปล่อยหรือพ่นไปติดตัวศัตรู ทำให้เคลื่อนไหวไม่ได้ หรืออาจทำให้ตายไดู้
การสร้างอาณาจักรหรือนิคมของปลวก
         เริ่นต้นขึ้นเมื่อฤดูกาลเหมาะสม ส่วนใหญ่มักเป็นช่วงหลังฝนตก ปีละประมาณ 2-3 ครั้ง โดยแมลงเม่าเพศผู้และเพศเมีย (Alate or winged reproductive male or female) บินออกจากรังในช่วงเวลาพลบค่ำประมาณ 18.30 น.- 19.30 น. เพื่อมาเล่นไฟ จับคู่ผสมพันธุ์กัน จากนั้นจึงสลัดปีกทิ้งไป แล้วจะลงไปสร้างรังในดินในบริเวณที่มีแหล่งอาหารและความชื้น หลังจากปรับสภาพดินเป็นที่อยู่อาศัยแล้ว ประมาณ 2-3 วัน จึงเริ่มวางไข่ฟองเดี่ยวๆ และจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จนอาจถึงวันละหลายพันฟอง ไข่จะฟักออกมาเป็นตัวอ่อน (Larva) และเจริญเติบโตโดยมีการลอกคราบจนเป็นตัวเต็มวัย ไข่รุ่นแรกจะฟักออกมาเป็นปลวกไม่มีปีก และเป็นหมัน สารเคมีที่เรียกกันว่าฟีโรโมนหรือสารที่ผลิตออกมาจากทวารหนักราชินี เพื่อให้ตัวอ่อนกิน จะเป็นตัวกำหนดให้ตัวอ่อนพัฒนาไปเป็นปลวกวรรณะต่างๆ เช่น ปลวกงาน (worker) ปลวกทหาร (soldier) โดยบางส่วนของตัวอ่อนจะเจริญไปเป็นปลวกที่มีปีกสั้นไม่สมบูรณ์อยู่ในช่วงระยะเจริญพันธุ์ (Nymphs) เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะเจริญไปเป็นแมลงเม่า ซึ่งมีปีกยาว สมบูรณ์เต็มที่บินออกไปผสมพันธุ์ต่อไป ตัวอ่อนบางส่วนจะเจริญเติบโตไปเป็นปลวกวรรณะสืบพันธสำุ์รอง(Supplementary Queen and King) ซึ่งจะทำหน้าที่ผสมพันธุ์ และออกไข่ เพิ่มจำนวนประชากร ในกรณีที่ราชา (King) หรือราชินี(Queen) ของรังถูกทำลายไป

วงจรชีวิตของปลวก

Comments are closed.